Language :

น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ

khjuk

heart attack

www.coconut-virgin.com

สมมุติฐานน้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ

          “น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ” เป็นบทสรุปสำหรับอาหารที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ คำพูดดังกล่าว จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้ง 4 ประการ ดังนี้

1. น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด มีคลอเรสเตอรอลสูง
2. เมื่อบริโภคน้ำมันอิ่มตัวแล้ว มีคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดสูง
3. คลอเรสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือดนั้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
4. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ

        ประจักษ์พยานและผลการศึกษาในเรื่องเหล่านี้ สรุปได้ว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันใน 3 ประเด็นแรก ดังที่จะได้อธิบายดังต่อไปนี้

น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด มีคลอเรสเตอรอลสูง

       การกล่าวหาว่าน้ำมันอิ่มตัว อันได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันเขตร้อน (tropical oils) อาทิเช่น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เพราะน้ำมันดังกล่าว เป็นสาเหตุให้มีคลอเรสเตอรอลใน กระแสเลือดสูง ทำให้น้ำมันมะพร้าว ถูกกล่าวหาว่ามีคลอเรสเตอรอลสูงไปด้วย แต่ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฎว่าน้ำมันมะพร้าวมีคลอเรสเตอรอลต่ำที่สุดในบรรดาน้ำมันที่ใช้บริโภคทั้งหลาย กล่าวคือ มีเพียง 14 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งถือว่าน้อยมากจนกล่าวได้ว่าน้ำมันมะพร้าวไม่มีคลอเรสเตอรอล
       การกล่าวหาอย่างรวมๆว่า น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิดมีคลอเลสเตอรอลสูงนั้นไม่เป็นความจริง เพราะน้ำมันอิ่มตัวนั้น มีทั้งที่โมเลกุลขนาดยาว (C 14-24) อันได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันเนื้อ ซึ่งมีคลอเรสเตอรอลสูงกว่า 3,000 ส่วนในล้านส่วน และที่มีโมเลกุลขนาดปานกลาง (C 6-12) อันได้แก่ น้ำมันจากพืชยืนต้นเขตร้อน เช่น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม แม้ว่าน้ำมันจากสัตว์ จะมีคลอเรสเตอรอลสูง แต่น้ำมันจากพืชยืนต้นเขตร้อนไม่มีคลอเรสเตอรอล

เมื่อบริโภคน้ำมันอิ่มตัวแล้ว มีคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดสูง

       คำกล่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของนักวิจัยชาวนิวซีแลนด์ ชื่อ Prior (1981) ซึ่งได้ศึกษาประชากรในเกาะมหาสมุทรแปซิฟิก 2 เกาะ คือเกาะ Pukapuka และ Tokelau ซึ่งเป็นเกาะที่ห่างไกลความเจริญ และบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลัก โดยรับประทานในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปของอาหารหลักและของว่าง โดยชาว Pukapaka ได้รับไขมันเป็นพลังงานในอัตรา 30-40% ของความต้องการแคลอรีประจำวัน มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด 170 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ176 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง ส่วนชาวเกาะ Tokelau ซึ่งบริโภคไขมันเป็นพลังงานในอัตราสูงถึง 56% ของความต้องการแคลอรีประจำวัน ก็มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด 208 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ216 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง จะเห็นได้ว่า ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดของประชาการในเกาะทั้งสองไม่ได้สูงไปกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของระดับคอเรสเตอรรอลในคนปรกติแต่อย่างใด
       นอกจากนั้น ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงหลักฐานที่ว่า น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ได้ถูกเติมไฮโดรเจน ไปเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลในกระแสเลือด เหตุผลที่น้ำมันมะพร้าว ไม่ได้มีผลร้ายต่อคลอเรสเตอรอล ก็คือ น้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยกรดไขมันขนาดกลาง (MCFA) ซึ่งต่างจากกรดไขมันที่พบในอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมัน MCFA (Medium Chain Fatty Acid) จะถูกเผาผลาญเกือบทันที เพื่อสร้างพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต โดยไม่ส่งผลต่อการเพิ่มระดับคลอเรสเตอรอลแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วน้ำมันมะพร้าวยังช่วยลดการเพิ่มขึ้นของคอเรสเตอรอลที่เกิดจากการบริโภคไขมันสัตว์อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัยที่ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ให้นักเรียนแพทย์ 10 คน รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ และน้ำมันมะพร้าวในระดับต่างๆกัน สำหรับไขมันจากสัตว์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจะเพิ่มคลอเรสเตอรอล การทดลองนี้ ให้อาหารคิดเป็นแคลอรีทั้งหมดที่ได้มาจากไขมันในอาหาร ตั้งแต่ 20, 30 และ 40% โดยการผสมที่ต่างกันของน้ำมันมะพร้าวและไขมันสัตว์ ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ผลปรากฏว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในระดับคลอเรสเตอรอล จะมีก็แต่ตอนที่อัตราส่วนนั้นถูกกลับให้บริโภคไขมันสัตว์มากกว่าน้ำมันมะพร้าว และให้แคลอรีคงอยู่ที่ 40% จึงจะพบว่าระดับคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

คลอเรสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือดนั้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

       แม้ว่าในกระแสเลือดจะมีคลอเรสเตอรอลสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งแต่อย่างใด ที่จริงร่างกายของคนเรา ใช้คลอเรสเตอรอลไปในการซ่อมแซม และรักษาบาดแผลที่ผนังหลอดเลือด และตรงกันข้ามกับที่หลายคนเชื่อ ส่วนประกอบหลักที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงนั้นไม่ใช่คลอเรสเตอรอล แต่เป็นโปรตีนต่างหาก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเนื้อเยื่อของแผล หลอดเลือดแดงที่แข็งตัวนั้นมีคลอดเรสเตอรอลอยู่น้อยมาก การที่หลอดเลือดแดงแข็งตัวนั้น เบื้องต้นเกิดจากผลของการเกิดบาดแผลในหลอดเลือด ซึ่งเกิดมาจากาเหตุหลายประการ เช่น สารพิษ อนุมูลอิสระ เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ถ้าต้นเหตุของอาการไม่ได้ถูกแก้ไข และตราบใดที่ยังมีการระคายเคือง และการอักเสบของบาดแผลยังคงอยู่ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ใหญ่โตขึ้น และจะพัฒนาเป็นแผ่นหนาขึ้น

เกณฑ์ในการพิจารณา

1. สัดส่วนของ คลอเรสเตอรอลรวม / HDL ควรมีค่าน้อยกว่า 4.6

2. สัดส่วนของ LDL/HDL ควรมีค่าน้อยกว่า 3

ท่านใดที่มีคลอเรสเตอรอลรวมเยอะ อาจจะรู้สึกตกใจ แต่ถ้าในบรรดาคลอเรสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นเป็น HDL แสดงว่าท่านมีสุขภาพที่ดีขึ้นแน่นอน


        ปรกติ เลือดของเรามีองค์ประกอบอย่างหนึ่ง เรียกว่าเกล็ดเลือด (platelet) ที่ทำหน้าที่สมานแผลหากเกิดบาดแผลขึ้น ดังเช่น เมื่อเราถูกมีดบาด เกล็ดเลือดจะไปรวมตัวกันที่ผิวบาดแผล และเมื่อรวมตัวกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเลือดจะเกิดเป็นลิ่มเลือด ซึ่งรวมตัวกันเป็นก้อน ทำให้เลือดหยุดไหล

pic_heart_attack

        หากผนังหลอดเลือดเกิดบาดแผล เกล็ดเลือดจะมาเกาะเพื่อกระตุ้นการสร้างลิ่มเลือด และต่อมาจะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อหลายชนิด เช่นเซลล์พังผืด (fibroblast) ภายในผนังหลอดเลือด การผสมกันอย่างสลับซับซ้อนของเยื่อที่เกิดแผล เกล็ดเลือด เซลล์พังผืด แคลเซียม คลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ จะรวมเข้าด้วยกันในการรักษาบาดแผล จึงเกิดการพองตัวของผนังหลอดเลือด แคลเซียมที่ฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดที่พองตัวขึ้นนี้เอง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ

       ตรงกันข้ามกับความเชื่อทั่วไป แผ่นเลือดที่พองตัวขึ้นนั้น ไม่ได้แค่ติดอยู่ตามหลอดเลือดเหมือนกับตะกรันในท่อน้ำ แต่มันเติบโตภายในหลอดเลือด และกลายเป็นส่วนเดียวกันกับผนังหลอดเลือด ซึ่งล้อมไปด้วยชั้นของเนื้อเยื่อยืดหยุ่น (elastic tissue) และกล้ามเนื้อเรียบ ที่เป็นวงแข็งแรงที่ป้องกันผนังหลอดเลือดไม่ให้แผ่ขยายออกไปด้านนอก เมื่อผนังหลอดเลือดโตขึ้น และไม่สามารถขยายออกไปด้านนอกได้ง่าย มันก็จะดันเข้าไปข้างใน จนกระทั่งทำให้หลอดเลือดตีบและตันในที่สุด เมื่อขบวนการนี้ เกิดในเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจ หัวใจก็จะขาดเลือดและเกิดภาวะหัวใจวาย แต่ถ้ามันเกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองก็จะทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเข้าสู่สมอง ทำให้เป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์

 

ดเด่

 

ที่มา:หนังสือ "น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร" โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 4 - 8


Validate the code with the W3C Validate the code with the W3C Link Exchange