น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษารักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร ?

khjuk

อัลไซเมอร์


เพิ่มเพื่อน

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร ?

          โรคอัลไซเมอร์ เป็นอาการสมองเสื่อม (dementia) ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ในช่วง 8-10 ปีหลังจากเริ่มมีอาการ และไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความจำเสื่อมลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น และมักเสียชีวิตลงหลังจากเป็นโรคนี้ 8 ปี แต่บางรายก็อยู่ได้ถึง 20 ปี หากได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

        ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีการเสียการทำงานของสมองที่ควบคุมความคิด ความจำ และการเรียบเรียงภาษาพูด มีอาการสับสน และไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำตามปกติได้ ในระยะแรกๆ จะขี้หลงขี้ลืมเล็กๆน้อยๆ แต่ต่อมาจะมีพฤติกรรมและบุคลิกเปลี่ยนไป เช่น หลงลืมสิ่งของที่ใช้เป็นประจำ นึกคำหรือประโยคที่พูดไม่ออก สับสนเรื่องเวลา และสถานที่ จำบุคคลที่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว และสุดท้ายมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม ทั้งๆที่เคยใช้เป็นประจำ ไม่สามารถไปสถานที่ที่คุ้นเคย จำเหตุการ์ณและช่วงเวลาได้ไม่แน่นอน จนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

ปัจจุบัน วงการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงปัจจัยที่มีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

       - อายุ : ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดคืออายุ คนที่อายุ 80 ปี มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนที่มีอายุ 65-69 ปี ถึง 10 เท่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งประชากรมีอายุยาวนานขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นด้วย ปัจจุบัน ในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 5.5 ล้านคน และคาดว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นถึง 10 ล้านคนภายในปี 2040

       - กรรมพันธุ์ : ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นสิ่งที่พิสูจน์และมั่นใจไม่ได้ 100% แต่มีรายงานและผลงานวิจัยต่างๆ พบว่า ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป จากการศึกษาล่าสุด ยังได้พบว่า โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการมียีนผิดปกติ ที่มีชื่อว่า Apo Lipoprotein E Epsilon 4 (APOEƐ4) ที่พบมากในประชากรชาวแอฟริกันอินูอิต อเมริกัน-อินเดียน และชาวยุโรปเหนือ อย่างไรก็ตาม โรคทางพันธุกรรมที่เกิดกับชนชาติเหล่านี้ ก็ไม่สามารถอธิบายกรณีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในชนชาติอื่นๆได้

       - สภาพทางสุขภาพ : สภาพทางสุขภาพที่เป็นปัจจัยของโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1. โรคอ้วน โดยเฉพาะที่มีไขมันที่พุงมากๆ
2. โรคเบาหวาน โดยเฉพาะประเภทที่ 2 ที่เกี่ยวกับการดื้อต่ออินซูลิน ผู้ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ถึง 65 %
3. มีกรดยูริกสูง
4. ต่อมไทรอยด์พิการ
5. ระบบภูมิคุ้มกันของเซลล์บกพร่อง
6. โรคหัวใจ

       - การขาดอาหาร : สภาพการขาดอาหารที่เป็นปัจจัยของโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1. การขาดไขมันโอเมกา 3
2. การมีระดับโฮโมซีสเตอีนสูง เพราะการขาดวิตามิน B6 , B12 และโฟเลต
3. การขาดวิตามินเค

       - สารพิษในสิ่งแวดล้อม : สภาพสิ่งแวดล้อมมีสารพิษที่เป็นปัจจัยของโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1. มีธาตุอลูมิเนียมในระดับที่เป็นพิษ
2. มีธาตุปรอทในระดับที่เป็นพิษ

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวในการรักษาโรคอัลไซเมอร์

การค้นพบของแพทย์หญิงแมรี นิวปอรท์  (Dr. Mary Newport)

          สตีฟ นิวปอร์ท เป็นนักบัญชี เมื่ออายุ 53 ปี เริ่มมีปัญหาในการทำงาน กล่าวคือไม่เป็นระเบียบ ทำอะไรผิดพลาด มีภาวะกดดัน และในที่สุดก็ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่เริ่มก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต้องขอบคุณภรรยา คือ แพทย์หญิงแมรี นิวปอร์ท ผู้อำนวยการของ Neonatal Intensive Care Unit, Spring Hill Regional Hospital, Florida, USA ที่ไม่ได้เพียงแต่ยอมรับการวินิจฉัยที่นำไปสู่ผลที่แสนเศร้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อันนี้ แต่ได้ขวนขวายหาหนทางรักษาอาการของสามี และตัดสินใจให้สามีเข้าร่วมการทดลองทางการแพทย์ โดยใช้ยาตัวใหม่สำหรับโรคสมองเสื่อม แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหา กล่าวคือการที่จะเข้าร่วมโครงการ ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนของสมองที่ยังทำหน้าที่อยู่บ้าง ทั้งนี้เพราะในการรักษาด้วยยา ผู้ให้ทุนอุดหนุนก็หวังว่าจะช่วยรักษาผู้ที่เพิ่งเริ่มมีปัญหาสมองเสื่อมในระยะแรกๆ เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จ แต่ในกรณีของสตีฟนั้น ความพิการของสมองได้เลยจุดนั้นไปแล้ว เพราะได้ตะแนนจากการทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับการทดลอง (Newport, 2008)

          พญ. นิวปอร์ท จึงต้องกลับไปค้นคว้าต่อไป จนพบข้อมูลอันหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ไขมัน ที่มีชื่อเรียกว่า medium chain triglyceride (MCT) ที่แสดงผลที่น่าพอใจสำหรับอาการทางปราสาท สารที่มี MCT อู่ในปริมาณสูงที่สุด คือน้ำมันมะพร้าว พญ. แมรี นิวปอร์ท ให้น้ำมันมะพร้าวแก่สามีของเธอในปริมาณมากโดยการใส่น้ำมันมะพร้าว 7 ช้อนชาลงไปในอาหารทุกมื้อ ภายหลังจากการใช้ครั้งแรก ก็มีสิ่งที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้น ต่อมาอีก 2 เดือน สตีฟเริ่มมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พูดมากขึ้น และมีอารมณ์ขันกลับมาอย่างช้าๆ ความตั้งใจและความสามารถที่จะอยู่กับงานที่ทำอยู่ดีขึ้น ในการสังสรรค์ในครอบครัว สตีฟสามารถจำชื่อญาติได้ ทั้งๆที่เมื่อ1 ปีก่อนหน้านี้ เขาจำใครไม่ได้เลย (Newport, 2009)

         หลังจากการใช้น้ำมันมะพร้าวหนึ่งปีครึ่ง สตีฟได้เป็นอาสาสมัครในห้องพัสดุของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และสนุกกับงาน และเพื่อนร่วมงาน อาการที่ก้าวเดินไม่ได้เมื่อก่อน ดีขึ้นจนสามารถวิ่งได้ สามารถอ่านหนังสืออย่างเข้าใจเนื้อหาได้อีกครั้ง รวมทั้งความทรงจำระยะสั้นดีขึ้น จนเขามีความรู้สึกว่า ชีวิตเขากลับคืนสู่ปกติแล้ว

          ดร. นิวปอร์ท ให้เหตุผลของการฟื้นจากอาการของโรคอัลไซเมอร์ว่า เป็นผลของสารคีโตน (ketone) ทั้งนี้เพราะ MCT มีพฤติกรรมไม่เหมือนกับไตรกลีเซอไรด์สายโซ่ขนาดยาวที่มีในน้ำมันทั่วไป เพราะมันมีขนาดโมเลกุลที่สั้นกว่า จึงถูกดูดซึม และถูกใช้ในการเปลี่ยนให้เป็นพลังงานในตับและแทนที่จะเก็บไว้ในรูปของไขมัน มันกลับเปลี่ยนไปเป็นสารคีโตน ซึ่งเป็นแหล่งสารให้พลังงานอีกรูปแบบที่สมองนำไปใช้ได้ดี (Hosley-Moore, 2008)

 

ดเด่

 

ที่มา:น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร ? หน้า 5 - 7 , 11 - 13

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- น้ำมันมะพร้าว : อาหารทางเลือกของสมอง Click

- สมมุติฐานว่าด้วยสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ Click