น้ำมันมะพร้าว : อาหารทางเลือกของสมอง

khjuk

         เป็นเรื่องโชคดีที่สมองสามารถมีแหล่งของพลังงานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง น้ำมันมะพร้าวเข้ามามีบทบาทในการเป็นอาหารทางเลือกของสมองและป้องกันการตายของเซลล์สมองได้ น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยฟื้นชีวิตของเซลล์ประสาท ทำให้สื่อประสาทต่างๆที่ถูกทำลายกลับฟื้นขึ้นมาได้ สารดังกล่าวคือ คีโตน ในขณะอดอาหารร่างกายของเราสามารถผลิตคีโตนจากไขมันที่สะสมไว้ แต่อาจผลิตได้จาก MCT ที่มีอยู่ในอาหาร น้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งที่มากที่สุดของ MCT ได้มีการใช้อาหารที่มีไขมันสูงที่เปลี่ยนเป็นคีโตนได้ สำหรับการรักษาโรคลมชักในเด็กมาช้านานแล้ว แต่เดี๋ยวนี้กำลังนำมาใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ คีโตนเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อมันเปลี่ยนไขมัน (ซึ่งตามปกติจะเปลี่ยนน้ำตาล) ให้เป็นพลังงาน และแหล่งที่มาหลักของคีโตนก็คือ MCT ที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีอยู่สูงถึง 62.5% คีโตนนี้ยังมีคุณค่าต่อสุขภาพอื่นๆอีกมาก เช่น ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน โรคฮันติงตัน โรคลมชักที่ดื้อยา โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 คีโตนอาจช่วยฟื้นฟูสมองจากการขาดออกซิเจนตั้งแต่ในเด็กทารกแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูอาการโรคหัวใจหลังจากอาการหัวใจวายอย่างรุนแรง และอาจทำให้เนื้องอกที่เป็นมะเร็งหดตัว

        MCT เป็นไขมันที่ร่างกายไม่ได้ใช้เปลี่ยนเป็นสารอื่นดังเช่น LCT ตามปกติ ไขมันในร่างกายจะถูกจับโดยน้ำดีที่ผลิตโดยถุงน้ำดี ก่อนที่จะแตกตัวในระบบย่อยอาหาร แต่ MCT จะเคลื่อนย้ายไปยังตับโดยตรง และตับจะเปลี่ยนไขมันให้เป็นคีโตน โดยไม่ผ่านการทำงานของน้ำดีอย่างสิ้นเชิง จากนั้นตับก็จะปลดปล่อยคีโตนเข้าสู่กระแสเลือด แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่สมองเพื่อใช้เป็นพลังงานที่นั่น จึงสรุปได้ว่า คีโตน เป็นแหล่งของอาหารที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคเบาหวาน

          ในกรณีของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เซลล์ประสาทในบางส่วนของสมองไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าไปได้ เพราะเกิดการดื้อต่ออินซูลิน และค่อยๆตายไป อันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นที่ใช้เวลานับเป็นสิบๆปี ก่อนที่อาการจะปรากฎ แต่ถ้าเซลล์มีคีโตน มันจะยังมีชีวิตอยู่ได้ และยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ

       

ดเด่

 

ที่มา:น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร ? หน้า 15 - 16


เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร Click

- สมมุติฐานว่าด้วยสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ Click